วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"กฎหมายไทย"


ความจำเป็นในการมีกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi jus. Ergo ubi homo, ibi jus) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"

[แก้] ปทัสถานทางสังคม
เป็นที่ยอมรับกันในทางสังคมวิทยาว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถอยู่เองอย่างโดดเดี่ยวได้ และเมื่อสังคมเกิดขึ้น การติดต่อสมาคมเพื่อสนองความต้องการซึ่งกันและกันก็มีขึ้น ดังนั้น แต่ละสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และ/หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม กฎเกณฑ์เช่นนี้เรียก "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms)[2]

คำ "ปทัสถานทางสังคม" นี้ บางทีก็ว่า "บรรทัดฐานทางสังคม" หรือ "ปทัฏฐานทางสังคม" ซึ่งคำ "ปทัสถาน" "ปทัฏฐาน" และ "บรรทัดฐาน" สามคำนี้ ล้วนแต่เป็นคำ ๆ เดียวกันและมีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสิ้น ชั่วแต่ว่า "ปทัสถาน" เป็นคำสันสกฤต "ปทัฏฐาน" เป็นคำบาลี ส่วน "บรรทัดฐาน" นั้นแผลงมาจาก "ปทัฏฐาน" อีกทีหนึ่ง หาใช่มาจากคำ "บรรทัด" + "ฐาน" ไม่[1]

ความสำคัญของปทัสถานของสังคมนั้น นอกจากเป็นเครื่องควบคุมสังคมและธำรงความสงบเรียบร้อยของสังคมแล้ว ยังเป็นแบบแผนพฤติกรรมอันเป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตรฐานที่สมาชิกทั้งปวงได้รับการประสงค์ให้ปฏิบัติตาม จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ตัวอย่างเช่น ในสังคมไทย เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียนและพบครูเวรยืนอยู่ก็จะแสดงความเคารพครูโดยไม่ต้องใช้เวลานึกคิดเลยว่าควรทำประการใดในกรณีเช่นนั้น

ปทัสทานทางสังคมจึงเกิดจากการที่คนในสังคมปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติตามคตินิยมของตน จนกลายเป็นระเบียบ แบบแผน หรือประเพณีนิยม นอกจากนั้นยังมีที่มาจากค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ด้วย เช่น สังคมไทยมีค่านิยมยกย่องนับถือผู้ใหญ่ จึงเกิดปทัสถานทางสังคมในการนับถือผู้ใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น