วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"กฎหมายไทย"


ความจำเป็นในการมีกฎหมาย
กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi jus. Ergo ubi homo, ibi jus) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"

[แก้] ปทัสถานทางสังคม
เป็นที่ยอมรับกันในทางสังคมวิทยาว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงไม่สามารถอยู่เองอย่างโดดเดี่ยวได้ และเมื่อสังคมเกิดขึ้น การติดต่อสมาคมเพื่อสนองความต้องการซึ่งกันและกันก็มีขึ้น ดังนั้น แต่ละสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน และ/หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม กฎเกณฑ์เช่นนี้เรียก "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms)[2]

คำ "ปทัสถานทางสังคม" นี้ บางทีก็ว่า "บรรทัดฐานทางสังคม" หรือ "ปทัฏฐานทางสังคม" ซึ่งคำ "ปทัสถาน" "ปทัฏฐาน" และ "บรรทัดฐาน" สามคำนี้ ล้วนแต่เป็นคำ ๆ เดียวกันและมีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสิ้น ชั่วแต่ว่า "ปทัสถาน" เป็นคำสันสกฤต "ปทัฏฐาน" เป็นคำบาลี ส่วน "บรรทัดฐาน" นั้นแผลงมาจาก "ปทัฏฐาน" อีกทีหนึ่ง หาใช่มาจากคำ "บรรทัด" + "ฐาน" ไม่[1]

ความสำคัญของปทัสถานของสังคมนั้น นอกจากเป็นเครื่องควบคุมสังคมและธำรงความสงบเรียบร้อยของสังคมแล้ว ยังเป็นแบบแผนพฤติกรรมอันเป็นที่คาดหวังของสังคม เป็นมาตรฐานที่สมาชิกทั้งปวงได้รับการประสงค์ให้ปฏิบัติตาม จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ตัวอย่างเช่น ในสังคมไทย เมื่อนักเรียนมาถึงโรงเรียนและพบครูเวรยืนอยู่ก็จะแสดงความเคารพครูโดยไม่ต้องใช้เวลานึกคิดเลยว่าควรทำประการใดในกรณีเช่นนั้น

ปทัสทานทางสังคมจึงเกิดจากการที่คนในสังคมปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติตามคตินิยมของตน จนกลายเป็นระเบียบ แบบแผน หรือประเพณีนิยม นอกจากนั้นยังมีที่มาจากค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ด้วย เช่น สังคมไทยมีค่านิยมยกย่องนับถือผู้ใหญ่ จึงเกิดปทัสถานทางสังคมในการนับถือผู้ใหญ่

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง





เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ